Latest Posts

การอบรมฟื้นฟูวิชาการเรื่อง “อุบัติเหตุทางมือ” ครั้งที่ 42

13 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2568 in ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารสิริกิติ์
data/2025/42th-Hand2025_cover.jpg

          อุบัติเหตุทางมือเป็นปัญหาทางการแพทย์ที่พบได้บ่อยในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ และมีอุบัติเหตุทางการจราจรบ่อย ทำให้ประชากรของประเทศ โดยเฉพาะในวัยทำงาน มีความพิการเกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติงาน

          การรักษาภาวะนี้จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและการดูแลเป็นสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary care)

          การอบรมฟื้นฟูวิชาการ เรื่อง “อุบัติเหตุทางมือ”…

Read More

The 9th ID Rama Symposium 2025 “Leading the Latest in Infectious Medicine”

7 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2568 in ห้องประชุม 910 ABC ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
data/2025/IDRama2025_cover.jpg

          โรคติดเชื้อเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและมักก่อให้เกิดทุพพลภาพและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตของประชากรไทยได้ องค์ความรู้ทางด้านโรคติดเชื้อทั้งในเชิงระบาดวิทยา การวินิจฉัย การดูแลรักษาและการป้องกันโรคติดเชื้อจึงมีความสำคัญยิ่งสำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วย

Read More

การอบรมทางวิชาการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูประจำปี พ.ศ. 2568 เรื่อง Holistic cardiopulmonary rehabilitation: A 360° Approach to recovery

19 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 in ห้องประชุม 810AB ชั้น 8 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
data/2025/cardiopulmonary.jpg

        การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด (Cardiopulmonary Rehabilitation) ถือเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติในระบบหัวใจและปอด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และภาวะหลังการผ่าตัดหัวใจหรือปอด โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจและปอด แต่ยังส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิต ลดอัตราการกลับมารักษาในโรงพยาบาล และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ความซับซ้อนของการฟื้นฟูในระบบหัวใจและปอดต้องการการบูรณาการความรู้และการดูแลแบบองค์รวม ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู…

Read More

การจัดประชุมวิชาการเรื่อง การดูแลทารกในครรภ์ที่มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดแบบสหสาขา: การดูแลต่อเนื่องจากในครรภ์สู่โลกภายนอก

15 สิงหาคม พ.ศ. 2568 in ห้องประชุม 910 ABC ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
data/2025/Fatal_Heart_4.jpeg

        ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นความพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุดของทารกในครรภ์ มีอุบัติการณ์ประมาณ 8:1000 ทารกเกิดมีชีพ การวินิจฉัยก่อนคลอดทำได้ด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งมีการพัฒนาความรู้และเครื่องมือการตรวจมาอย่างยาวนานต่อเนื่องกว่า 30 ปี การวินิจฉัยที่ถูกต้องมีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว วางแผนตรวจติดตามดูแลทารกในครรภ์ วางแผนการคลอด รวมทั้งวางแผนดูแลและผ่าตัดหลังคลอดซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันแบบสหสาขาวิชาชีพอันประกอบไปด้วย สูติ-นรีแพทย์สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ กุมารแพทย์สาขาเวชศาสตร์โรคหัวใจ กุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิด-ปริกำเนิด…

Read More

การประชุมเชิงปฏิบัติการ การฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกและการเตรียมการทางห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 3 (3rd Intrauterine insemination (IUI) workshop: Tips & Tricks in IUI)

16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 in ห้องประชุม 910 ABC อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์
data/2025/IUI2025_reg Large.jpeg

          ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยพบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 ประเทศไทยเริ่มมีอัตราการเกิดที่ลดลงร่วมกับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น และจากข้อมูลในล่าสุดของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประชากรไทยปี พ.ศ. 2567 มีรวมทั้งสิ้น 65,951,210 คน อัตราการเกิดในปี 2567 มีตัวเลขอยู่ที่ 462,240 คน…

Read More

การประชุมวิชาการเวชศาสตร์ประคับประคอง โดย เวชศาสตร์ครอบครัวรามาธิบดี ครั้งที่ ๑ Aspiring to high-quality palliative care

19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 in ห้องประชุม Coliseum ชั้น 6 โรงแรมแบงค็อก มิดทาวน์
data/palliative_care_img.jpg

     เวชศาสตร์ประคับประคอง หรือ Palliative Medicine เป็นศาสตร์เฉพาะทางที่บูรณาการ ความรู้ในหลากหลายสาขาวิชา เช่น ทักษะทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา มนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังหรือระยะท้ายของชีวิต รวมถึงครอบครัวของผู้ป่วย เพื่อช่วย เพิ่มคุณภาพชีวิต…

Read More

โครงการอบรมวิชาการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพพยาบาล การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในหน่วยบริการผู้ป่วยในโรงพยาบาล (หลักสูตร 5 วัน)

25-29 สิงหาคม 2568 in ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ ชั้น5 อาคารสิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
data/2025/PreventInfect2025_cover.jpg

          การติดเชื้อในโรงพยาบาลคือการติดเชื้อที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อโรคขณะเข้ารับการรักษาในหน่วยบริการในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจพบในทุกโรงพยาบาล การติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยโดยตรง เมื่อผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล มีโอกาสทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อดื้อยา อาจเกิดการติดเชื้อรุนแรงเข้าสู่กระแสเลือดและเสียชีวิต นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการสูญเสียทรัพยากรและค่าใช้จ่ายทั้งของตนเอง ครอบครัว ประเทศ และของญาติในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมาตรฐานต่างๆในการดูแลผู้ป่วย จึงมีความสำคัญในการที่จะช่วยลดปัญหาการติดเชื้อในหน่วยบริการผู้ป่วย ในโรงพยาบาลดังกล่าว…

Read More

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง The essential in pediatric respiratory care (หลักสูตร 10 วัน)

18 สิงหาคม - 19 กันยายน พ.ศ. 2568 in อาคารเรียนและปฎิบัติการรวมฯ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
data/2025/Essential2025_cover.jpg

          ในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในการดูแลรักษาโรคทางระบบหายใจในเด็ก แต่ปัญหาความซับซ้อนของโรค รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งที่อาจเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมและความผิดปกติอื่น ๆ จนมีผลกระทบต่อระบบหายใจของเด็ก จึงทำให้การจัดการดูแลผู้ป่วยเด็กเหล่านี้จำเป็นต้องมีการใช้ความรู้และทักษะในการประเมินปัญหา พัฒนาหรือเลือกใช้วิธีการบำบัดดูแลทางระบบหายใจที่เหมาะสมกับปัญหาที่มีความซับซ้อน รวมทั้งการดูแลแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการดูแลรักษาที่ดี นับตั้งแต่การป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อน การวางแผนจัดการดูแลรักษาทางระบบหายใจเด็กที่มีมาตรฐาน รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็กเพื่อการฟื้นหายและสร้างเสริมสุขภาพ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัว พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางระบบหายใจเด็ก จึงควรได้รับการฝึกอบรม…

Read More

โครงการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “Best practice in Critical Care Medicine”

2 – 5 เมษายน พ.ศ. 2568 in โรงแรม แมนดาริน สามย่าน และ ห้องประชุม 910ABC ชั้น 9 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
data/2025/RACCM2025V1_cover.jpg

การดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในโรคเป็นอย่างดี ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาเริ่มต้นจากห้องฉุกเฉิน และเคลื่อนย้ายสู่หอผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยทุกรายจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน รวดเร็วจากบุคลากรหลายสาขาร่วมกันเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย ซึ่งทางคณะผู้จัดประชุมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้แก่บุคลากรสหสาขาที่ทำงานร่วมกันในการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร จึงได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้ โดยจะเน้นเนื้อหาวิชาการที่จะนำไปใช้ได้จริงในทางเวชปฏิบัติ ซึ่งจะมีวิทยากรจากสหสาขาที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ในครั้งนี้

Read More

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพิ่มพูนความรู้เพื่อการตรวจการนอนหลับและการเฝ้าระวังอาการขณะปฏิบัติการตรวจ 2568

1 มีนาคม - 30 กันยายน พ.ศ. 2568 in ศูนย์โรคการนอนหลับ อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 7
data/2025/Sleep2025_cover2.jpg

          การตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการ เป็นการตรวจด้วยวิธีพิเศษที่ต้องใช้ความรู้ในหลายสาขาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่นให้การพยาบาล การประเมินอาการและการเฝ้าระวังอาการผิดปกติที่อาจเกิดมีขึ้นในขณะปฏิบัติการตรวจ ต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องปรับแรงดันบวกและประเมินอาการผู้มารับการตรวจในรายที่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน ต้องสามารถประมวลผลตรวจและรายงานผลการตรวจได้ถูกต้อง

          ทางห้องปฏิบัติการตรวจของศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงจำเป็นต้องมีการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ที่สนใจปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจการนอนหลับ ให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถให้การดูแลขณะปฏิบัติการตรวจในห้องปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานสากล…

Read More