หลักการและเหตุผล
1. ในปัจจุบันความรู้ทางด้านระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติมีความสำคัญต่อแพทย์เวชปฏิบัติ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆเป็นอย่างมาก โดยความรู้นี้ จะช่วยให้บุคลากรดังกล่าว รู้จักลักษณะของข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งจะนำไปสู่การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้แล้ว ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่นักวิจัยควรมีเพื่อทำให้งานวิจัยสมบูรณ์ แต่นักวิจัยในสายงานทางการแพทย์ มักประสบปัญหาของความไม่เข้าใจสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล และระเบียบวิธีวิจัย
ภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ จึงได้จัดให้มีการอบรมทางด้านระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติเบื้องต้น สำหรับผู้ที่มีความสนใจงานวิจัยทางการแพทย์ โดยจัดให้กับเวชปฏิบัติ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ที่สนใจในการทำวิจัย โดยการฝึกอบรมนี้จะเป็นเนื้อหาขั้นพื้นฐานของระบาดวิทยาและชีวสถิติ ซึ่งจะนำไปสู่การฝึกอบรมอื่น ๆ ที่จะมีอย่างต่อเนื่อง สามารถนำไปใช้ประกอบกับการวางแผนในการทำงานวิจัยทางคลินิกได้ และเป็นความรู้พื้นฐานที่ผู้เข้าฝึกอบรมที่สนใจจะศึกษาต่อระดับปริญญาโทหรือเอกในสาขานี้ต่อไป
2. ในปัจจุบันมีงานวิจัยออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก บางครั้งเป็นการศึกษาซ้ำๆ ในเรื่องเดียวกันและ บ่อยครั้งที่เป็นการวิจัยในเรื่องเดียวกัน แต่ผลการวิจัยที่ได้กลับตรงข้ามกันหรือไม่สอดคล้องกันทำให้ผู้อ่าน งานวิจัยเกิดความสับสน บางงานวิจัยเป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย ทำให้ผู้อ่านไม่อาจมั่นใจได้ว่าผลวิจัยนั้นมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด ในปัจจุบันการดูแลผู้ป่วย จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานทางวิชาการ (evidence-based practice) ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในขณะนั้น ช่วยประกอบการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น ในระดับบุคคล หรือในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ
การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบ (systematic reviews) เป็นการทบทวนเอกสารงานวิจัยโดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อลดอคติ (bias) และข้อผิดพลาดเชิงสุ่ม (random error) ของแต่ละงานวิจัย การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบ โดยไม่ใช้วิธีการทางสถิติในการรวมผลลัพธ์ เรียกว่า การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบเชิงคุณภาพ (qualitative systematic reviews) สำหรับการทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบที่ใช้วิธีการทาง สถิติในการรวมผลลัพธ์เรียกว่า การทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบเชิงปริมาณ (quantitative systematic reviews) meta-analysis หรือ การอภิวิเคราะห์ เป็นการใช้วิธีการทางสถิติในการรวมผลงานวิจัยตั้งแต่สอง เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น meta-analysis จึงเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนเอกสารอย่างเป็นระบบเชิงปริมาณ ภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ จึงได้จัดให้มีการอบรมให้แก่ผู้วิจัยทางการแพทย์ทั่วไปที่สนใจโดยการฝึกอบรมนี้จะเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลจริงจากงานวิจัย
Schedule : 17 – 21 มิถุนายน 2567
อัตราค่าลงทะเบียน แบ่งเป็น 3 Course ดังนี้