การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ผสานองค์ความรู้งานวิจัยกับการเจริญสติ” (Mindfulness Research : Methodological Consideration)
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
อัตราค่าลงทะเบียน
|
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ | ||||||||||||||||||||
อัตราค่าลงทะเบียน
|
แนวคิดเรื่องการเจริญสติ (Mindfulness) ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมามีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับสติเกิดขึ้นหลากหลายแง่มุม เช่น การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดระดับการมีสติ การนำกระบวนการพัฒนาสติมาใช้บำบัดรักษาในผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ เช่นการลดความเครียด ความวิตกกังวลฯลฯ แต่กระบวนการดังกล่าวยังมีข้อจำกัดหลายประการ เช่น การใช้เครื่องมือในการประเมินสติ เนื่องจากเป็นการวัดผลที่เป็นอัตวิสัย (subjective) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เป็นการตอบข้อคำถามที่มีการรวมคะแนนและแปลผล ไม่สามารถวัดได้อย่างตรงไปตรงมา จึงต้องมีข้อพิจารณาการนำเครื่องมือมาใช้และแปลผลอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้การนำกระบวนการเจริญสติมาใช้ประโยชน์เพื่อบำบัดทางด้านจิตใจ ยังมีความหลากหลาย บางครั้งมีการผสมผสานกับการบำบัดแนวอื่น
การพัฒนามาตรฐานด้านความรู้ด้านการวิจัย ควบคู่กับพัฒนานักวิจัยที่มีความสนใจในแนวทางการเจริญสติ ให้สามารถหลอมรวมองค์ความรู้ทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของนักวิจัยที่จะทำงานวิจัยเกี่ยวกับสติ ดังนั้นการได้รับการเพิ่มเติมองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ช่วยส่งเสริมให้นักวิจัย มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวคิดของการเจริญสติ การกำหนดระเบียบวิธีวิจัย การพัฒนาเครื่องมือและนำมาใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์งานวิจัย สามารถนำมาต่อยอดสร้างงานวิจัยด้านสติที่มีมาตรฐาน มีส่วนสำคัญในการพัฒนางานวิจัยที่ใช้สติเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตใจมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยดังกล่าว จึงมีความประสงค์จัดอบรมเพื่อเผยแพร่และเพิ่มพูนองค์ความรู้ สร้างเสริมประสบการณ์และฝึกทักษะแก่นักวิจัย อาจารย์ และนักวิชาการ ที่มีความสนใจนำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสติมาต่อยอด พัฒนาเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพได้มาตรฐานต่อไป
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: