Next-Gen Sequencing 103: การวิเคราะห์ข้อมูลนิเวศวิทยาจุลินทรีย์สำหรับข้อมูลลำดับเบสจากเทคโนโลยีเอ็นจีเอส
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
อัตราค่าลงทะเบียน
หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมประชุมที่ลงทะเบียนฝึกปฏิบัติด้วยขอความกรุณานำคอมพิวเตอร์มาด้วย และเครื่องของท่านต้องรองรับโปรแกรมโดยต้องมีระบบปฏิบัติการ 64 Bit
|
การศึกษาจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ในหนึ่งชุมชีพ (community) หรือในตัวอย่างที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้น สามารถทำได้โดยวิธีการสกัดดีเอ็นเอออกมาจากตัวอย่างในชุมชีพที่ต้องการศึกษาโดยตรง ไม่ต้องทำการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ การศึกษาลักษณะแบบนี้เรียกว่า การทำเมตาจีโนมิกส์ การทำเมตาจีโนมิกส์นั้นจะครอบคลุมไปจนถึงการศึกษาจุลินทรีย์ที่ไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ (uncultivable microbes) ซึ่งพบว่าตัวอย่างจุลินทรีย์ตามธรรมชาติทั้งหมดนั้นจะมีมากถึงร้อยละ 99 กระบวนการทำเมตาจีโนมิกส์จะเริ่มตั้งแต่ การสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ จากนั้นจะมีการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอและการถอดรหัสพันธุกรรมด้วยวิธีการหรือเครื่องมือที่มีความแตกต่างกัน ไปจนถึงการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ของกลุ่มประชากร และวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบในความหลากหลายของระบบนิเวศนั้นๆ โดยประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาเมตาจีโนมิกส์ สามารถประยุกต์ในงานทางด้านการแพทย์ พลังงานจากเชื้อจุลินทรีย์ (Biofuel) การทำงานด้าน Biotechnology การเกษตร และผลหรือความสามารถของเชื้อจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม การทำเมตาจีโนมิกส์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ คือ การอ้างอิงจากคุณสมบัติจำเพาะที่ต้องการศึกษา (function-based screening) หรืออ้างอิงจากลำดับเบสของยีนที่ต้องการ (sequence-based screening) โดยที่ผ่านมามีชีวโมเลกุลมากมายที่ถูกค้นพบด้วยวิธีเมตาจีโนมิกส์ เช่น DNA polymerase, lipase, cellulase, protease หรือยีนที่สร้างสารปฏิชีวนะ ในส่วนของเทคโนโลยีการถอดลำดับเบสที่ใช้งานในการศึกษาเมตาจีโนมิกส์นั้นได้เริ่มมีการศึกษาจากการทำ shotgun sequencing จนในปัจจุบันด้วยเทคนิควิเคราะห์ลำดับเบสรุ่นใหม่ (Next generation sequencing) การศึกษานิเวศจุลินทรีย์จึงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้มีข้อจำกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่ได้จากการถอดรหัสพันธุกรรม จึงเกิดความต้องการในการนำเครื่องมือทางชีวสารสนเทศมาใช้ในการวิเคราะห์ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เล็งเห็นถึงข้อจำกัดดังกล่าวจึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน Qiime ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ผลิตโปรแกรมชีวสารสนเทศในการวิเคราะห์ข้อมูลนิเวศวิทยาจุลทรีย์ในรูปแบบโอเพนซอร์ส (open source) มาจัดอบรมเชิงปฎิบัติการในประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 14-15 ธันวาคม 2558 นี้ เพื่อส่งเสริมให้แพทย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และนัก ชีวสารสนเทศ ได้เห็นภาพรวมและปฎิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมของจุลินทรีย์ได้จากการถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเครื่องวิเคราะห์ลำดับเบสรุ่นใหม่ด้วยโปรแกรมทางชีวสารสนเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยไทย ลดระยะเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูล และ พลักดันให้เกิดผลงานวิจัยทางด้านเมตาจีโนมิกส์ต่อไปในอนาคต
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม:
แนะนำห้องพักสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม
ลำดับ |
โรงแรม |
1. |
โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อิน |
|
เบอร์โทรศัพท์ : 02-618-2683 หรือ 081-334-1528 |
|
Superior single (รวมอาหารเช้า) 1,100 บาท |
|
Superior twin (รวมอาหารเช้า) 1,200 บาท |
|
Link website : http://www.grandtowerinn.com/rama6/ |
|
|
2. |
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) |
|
เบอร์โทรศัพท์ : โทร. 02-246-7800 มือถือ 081-867-4615 |
|
Superior single (รวมอาหารเช้า) 1,500 บาท |
|
Superior twin (รวมอาหารเช้า) 1,800 บาท |
Link website : http://www.centuryparkhotel.com/ | |
|
|
3. |
โรงแรมเดอะ สุโกศล (ถนนศรีอยุธยา) |
|
Deluxe single (รวมอาหารเช้า) 2,400 บาท |
|
Deluxe twin (รวมอาหารเช้า) 2,600 บาท |
|
เบอร์โทรศัพท์ : 02-247-0123 มือถือ 081-823-0882 |
|
|
4. |
โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค |
|
Superior single (รวมอาหารเช้า) 1,300 บาท |
|
Superior twin (รวมอาหารเช้า) 1,500 บาท |
|
เบอร์โทรศัพท์ : 02-6281111 ต่อ 1342, 1343 |
|
Link website : http://www.princepalace.co.th/ |
หมายเหตุ : กรุณาติดต่อรายละเอียดกับทางโรงแรมด้วยตนเองและแจ้งกับทางโรงแรมว่ามาเข้าร่วมประชุมกับทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี