Management in Cardiac Patients : Interdisciplinary Team
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
ปิดรับลงทะเบียน!!!!! |
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Noncommunicable Disease: NCD) ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรไทย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ.2556 พบว่ามีผู้ป่วยถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คนหรือชั่วโมงละ 6 คน บางรายเสียชีวิตเฉียบพลัน บางรายก็กลายเป็นโรคเรื้อรังและมีโรคแทรกซ้อน กลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ประกอบด้วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (STEMI) โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (NSTEMI/Unstable angina) ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) รวมถึงโรคลิ้นหัวใจ (Valvular heart disease) โรคหัวใจเป็นโรคที่มีรุนแรงและต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วนเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงและควบคุมก่อนที่จะเกิดความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น เป็นโรคที่มีความรุนแรง ซับซ้อน แต่หากได้รับการวินิจฉัยที่ทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการ การรักษาพยาบาลที่ถูกต้องและรวดเร็วจะสามารถลดอัตราการตายได้
อย่างไรก็ตาม นอกจากการวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาลที่ถูกต้องและรวดเร็ว การเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง การมีเครือข่ายการส่งต่อที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึ่งปฏิบัติหรือควรหลีกเลี่ยง เช่น การงดสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การดำเนินชีวิตประจำวันที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการพยาบาลควรตระหนักถึงเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการอบรมให้ความรู้แก่พยาบาล และบุคลากรทางสาธารณสุขที่สนใจ เพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเฉียบพลัน การเตรียมผู้ป่วยในการดูแลตนเอง การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านที่มีภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม สามารถดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
Provided by ACADEMICRAMA