การประชุมเชิงปฏิบัติการ Regional Anesthesia Ramathibodi Conference 2022
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
!!ปิดลงทะเบียน!!หากสนใจลงทะเบียน ส่งข้อมูลที่ academic.rama@gmail.com และติดต่อ 02-201-2258
อัตราค่าลงทะเบียน
กลุ่มเป้าหมาย วิสัญญีแพทย์ วิสัญญีแพทย์เฉพาะทางด้านการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน แพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ แพทย์ผู้ดูแลด้านระงับปวด แพทย์ประจำบ้านต่อยอด แพทย์ประจำบ้านและแพทย์ผู้สนใจ
หมายเหตุ ลิงค์ร่วมประชุมออนไลน์ส่งผ่านอีเมลที่ลงทะเบียนล่วงหน้า 1 เดือน และส่งแจ้งอีกครั้ง 2 วันก่อนงานประชุม |
การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งบ่งบอกถึงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดซึ่งการระงับปวดที่มีประสิทธิภาพถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (regional anesthesia) ถือเป็นวิธีการระงับปวดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถลดปริมาณการใช้ยากลุ่มโอปิออยด์ส่งผลให้ภาวะแทรกซ้อนจากยากลุ่มดังกล่าวลดลง เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ หรือลดการทำงานของลำไส้ลง (bowel dysfunction) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันจากความก้าวหน้าของความรู้ทางกายวิภาคระบบเส้นประสาทและเทคโนโลยีการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ ทำให้การระงับปวดโดยการสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral nerve block) และการฉีดยาระหว่างชั้นกล้ามเนื้อ (fascial plane blocks) ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเป็นทางเลือกทดแทนการระงับปวดทางไขสันหลัง (neuraxial analgesia) ซึ่งอาจพบผลข้างเคียงสำคัญที่ขัดขวางการฟื้นตัวของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดเช่น ปัสสาวะไม่ออก กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ภาวะเลือดออกกดทับไขสันหลัง (epidural hematoma) เป็นต้น
ทางคณะผู้จัดโครงการตระหนักเห็นถึงความสำคัญในการทบทวนความรู้ทางกายวิภาคและเทคนิคการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนตามหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อให้วิสัญญีแพทย์ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางในการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับประเภทการผ่าตัด รวมถึงส่งเสริมการฟื้นตัวภายหลังการผ่าตัด คณะผู้จัดโครงการจึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Regional Anesthesia Ramathibodi Conference 2022 เรื่อง Spotlight on fascial plane blocks in Regional anesthesia & Quality of patient care เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนกับวิสัญญีแพทย์ผู้สนใจให้ก้าวทันต่อข้อมูลในปัจจุบัน รวมถึงสามารถนำมาใช้ได้จริงทางคลินิก โดยกำหนดหัวข้อการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนที่ได้รับความสนใจปฏิบัติในปัจจุบัน แนวทางปฏิบัติการระงับความรู้สึกหรือระงับปวดในการผ่าตัดเฉพาะกลุ่มต่างๆ ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่มีความท้าทายในการดูแล เช่น ผู้ป่วยที่มีความปวดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกายสูง การจัดการปัญหาความปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด รวมถึงการส่งเสริมระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: