คุณภาพอากาศในโรงพยาบาลกับสุขภาพผู้ทำงาน
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
|
ประเทศไทยมีภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น ทำให้สถานพยาบาลมีการติดตั้งระบบปรับอากาศมากขึ้นหากระบบที่ติดตั้งไม่ได้ มาตรฐานหรือไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพอากาศในอาคาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อผู้ปฏิบัติงานได้ ที่พบบ่อย คือ กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร (sick building syndrome;SBS) ได้แก่ กลุ่มอาการทางตา จมูก ลำคอ ระบบหายใจส่วนล่าง ระบบประสาท ผิวหนัง ซึ่งมีความสัมพันธ์ชัดเจนกับช่วงเวลาที่อยู่ในอาคาร โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานที่ใช้เวลาอยู่ในอาคารทำงานมากกว่าหนึ่งในสามของวัน และห้าถึงหกวันต่อสัปดาห์ จะมีโอกาสได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากคุณภาพอากาศในอาคาร (indoor air quality; IAQ) ซึ่งปัจจุบันคุณภาพอากาศในอาคารเป็นปัญหาสำคัญ และมีผลต่อสุขภาวะของผู้ทำงานในอาคาร โดยองค์การอนามัยโลกคาดว่าร้อยละ 30 ของอาคารทั่วโลกอาจมีปัญหาทางด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร ซึ่งนำไปสู่ปัญหากลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร (sick building syndrome; SBS) นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลยังเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโรคที่ติดต่อ ทางการหายใจ เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส เป็นต้น และยังมีความหลากหลายทั้งที่เป็นหอผู้ป่วยสำนักงาน ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้ปฏิบัติงานได้และการมีลักษณะของปัญหาที่แตกต่างกัน ที่ต้องการความเฉพาะเจาะจงของการระบายอากาศให้เหมาะกับลักษณะงาน เพื่อให้ที่นั้นๆมีคุณภาพอากาศที่ดี เพราะหากคุณภาพอากาศในสถานที่ทำงานไม่ดี ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง หรือหากเจ็บป่วยจนต้องลางาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรได้ จากการเดินสำรวจหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูงด้านอาชีวอนามัยในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พ.ศ. 2548-2549 พบว่า ปัญหาเรื่องการระบายอากาศเป็นปัญหาที่พบมากที่สุดและมีรายงานจากหน่วยงาน เรื่อง ผู้ปฏิบัติงานเกิดการเจ็บป่วยจากการสัมผัสสารเคมีในที่ทำงาน เมื่อสอบสวนแล้วปัญหาที่พบ คือ การระบายอากาศของหน่วยงานไม่ดี ก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพอากาศในหน่วยงานขึ้น
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: