โครงการอบรมความรู้ภาคปฏิบัติการด้านเทคนิคการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการ
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
อัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 10,000 บาท |
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ | ||||||||||||||||||||
อัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 10,000 บาท |
เนื่องจากการตรวจการนอนหลับในห้องปฏิบัติการ ต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญในการฝึกปฏิบีติการด้านการติดอุปกรณ์ให้ถูกต้องแม่นยำ ต้องเฝ้าระวังและประเมินอาการของผู้มารับการตรวจให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน ต้องสามารถทำการปรับค่าแรงดันเครื่อง CPAP ในรายที่มีภาวะหายใจผิดปกติขณะหลับ ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน รวมถึงการแปลผลตรวจการนอนหลับ และการออกรายงานผล ซึ่งการปฏิบัติเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์เฉพาะทาง ทั้งทางด้านการให้การพยาบาลผู้ป่วยขณะตรวจ การเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการตรวจ เช่นการหายใจผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจ และคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่อาจเกิดภาวะผิดปกติขณะทำการตรวจ อีกทั้งต้องมีความรู้ทางด้านหัตถการ และการอ่านระดับการนอนจากคลื่นไฟฟ้าสมอง เนื่องจากระยะเวลาในการตรวจผู้ป่วยต้องใช้เวลานาน 6-8 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับจึงควรมีทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานร่วมด้วย เจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับ จึงควรได้รับการฝึกอบรม จากประสบการณ์ตรง ในห้องปฏิบัติการ ก็จะทำให้มีความมั่นใจและสามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับไป ปรับใช้ในหน่วยงานต้นสังกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งการฝึกอบรมภาคปฏิบัตินี้ ยังไม่มีสถาบันใดจัดตั้งหลักสูตรอย่างเป็นทางการ ทางศูนย์โรคการนอนหลับโรงพยาบาลรามาธิบดี จึงมีความประสงค์ ที่จะไห้บุคลากรด้านการตรวจการนอนหลับ ที่ผ่านการฝึกอบรมภาคทฤษฏี จากสมาคมโรคจากการหลับแล้วและ ยังไม่มีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติการจริง เข้ารับการอบรมเพื่อสร้างสมประสบการณ์ และสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในหน่วยงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
การจัดทำโครงการนี้ เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับ ทั้งในและนอกสถาบัน มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติการตรวจได้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน และเป็นแนวทางเดียวกัน อีกทั้งยังทำให้เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการ ตามเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะ
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: