โครงการ อบรมวิชาการ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีทวารเทียมและแผล ครั้งที่ 2 Advance wound ostomy and continence care: Theory and Practice (หลักสูตร 10 วัน)

โครงการ อบรมวิชาการ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีทวารเทียมและแผล ครั้งที่ 2 Advance wound ostomy and continence care: Theory and Practice (หลักสูตร 10 วัน)
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
หนังสืออนุมัติโครงการ : ไฟล์ยังไม่พร้อมใช้งาน
หนังสือเชิญประชุม : ดาวน์โหลด
โครงการ : ดาวน์โหลด
กำหนดการ : ดาวน์โหลด
ใบลงทะเบียน : ดาวน์โหลด
ค่าลงทะเบียน : 15,000.00บาท
รับจำนวน : 37 คน
ที่ว่างคงเหลือ : 1 คน
หน่วยงานผู้จัด: ฝ่ายการพยาบาล
สถานที่จัด : หอผู้ป่วย, คลินิกออสโตมีและแผล, หน่วยบริการหัตถการ โรงพยาบาลรามาธิบดี
วันที่จัดประชุม : 2-27 พฤศจิกายน 2563

ระยะเวลาดำเนินการ

   ระยะที่ 1 ภาคทฤษฎี+ภาคปฏิบัติ (Workshop) 5 วัน จำนวนผู้เข้าอบรม 36 คน ระหว่างวันที่ 2-6 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.00-16.00 น.

   ระยะที่ 2 ภาคปฏิบัติในคลินิก 5 วัน แบ่งเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 12 คน (เลือกคนละ 1 รุ่น) 

  • รุ่นที่ 1 วันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.00-16.00 น.
  • รุ่นที่ 2 วันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2563 เวลา 08.00-16.00 น.
  • รุ่นที่ 3 วันที่ 30 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2563 เวลา 08.00-16.00 น. 

 

อัตราค่าลงทะเบียน

ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ(Workshop)+ภาคปฏิบัติในคลินิก ท่านละ 15,000 บาท

กรุณาเลือกข้อมูลเบื้องต้นก่อนคลิกปุ่มลงทะเบียน
เลือกภาคปฏิบัติในคลินิก:

          การผ่าตัดเปิดทวารเทียมเพื่อขับถ่ายอุจจาระ/ปัสสาวะทางหน้าท้อง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างใหญ่หลวง จากการที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ อาจมีอุจจาระ ปัสสาวะเปรอะเปื้อน มีปัญหาแทรกซ้อนที่ผิวหนังโดยรอบทวารเทียม สร้างความยุ่งยากต่อการดำรงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่ของครอบครัว สังคม และการประกอบอาชีพ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดความหวาดหวั่น วิตกกังวล และเครียด ผู้ป่วยบางรายปฏิเสธการรักษาตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด และในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ไม่สามารถปรับตัวได้ บางรายเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ และสิ้นหวัง ซึ่งมีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว นำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการบริการสาธารณสุข ผลกระทบจากการมีทวารเทียมมีมากมาย และบางรายอาจรุนแรงดังที่กล่าวแล้ว เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ขณะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล และภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถปรับตัวได้ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และเพิ่มประสิทธิภาพของการดูแลรักษา นอกจากนี้ ไม่เฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีทวารเทียมเท่านั้นที่เกิดปัญหาและต้องการความช่วยเหลือเพื่อการดูแลตนเองและการปรับตัว แต่ยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง เช่น แผลกดทับ แผลที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงและแผลเท้าเบาหวาน ซึ่งการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องการพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มพูนความรู้ที่ก้าวหน้าทันสมัยเกี่ยวกับพยาธิสรีระ และเทคโนโลยี ที่ช่วยในการดูแลรักษา ทราบแนวทางปฏิบัติที่ได้ผลเลิศ มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ตลอดจนมีการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ทั้งในด้านการประเมิน วินิจฉัย การใช้หรือดัดแปลงเทคโนโลยี เวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ได้เหมาะสม สามารถจัดบริการพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล เพิ่มคุณภาพชีวิตและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่สามารถป้องกันได้

เขียนคำวิจารณ์
ชื่อของคุณ:


ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!

ให้คะแนน: แย่            ดี

พิมพ์รหัสป้องกันสแปม:

ไม่มีรูปภาพเพิ่มเติมใด ๆ สำหรับงานประชุมนี้.

Provided by ACADEMICRAMA