The DIR Model and Floortime: Using Brain Science and Principles of Human Development to Help Infants, Children and Families.
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
ปิดรับลงทะเบียนแล้ว
อัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 500 บาท |
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ | ||||||||||||||||||
ปิดรับลงทะเบียนแล้ว
อัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 500 บาท |
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมผ่านกระบวนการเล่น ตามหลักการ Developmental Individual- Difference Relationship-based (DIR) Approach เป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาเด็ก ที่เน้นองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ พัฒนาการที่ใช้การได้ (Functional development), ความแตกต่างของระบบประสาทของแต่ละคน และสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเด็กและผู้ใกล้ชิด
แนวทางนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์สแตนลีย์ กรีนสแปน และคณะ ซึ่งตั้งสมมุติฐานว่า หากเด็กสามารถเชื่อมต่อระหว่างความรู้สึก อารมณ์หรือความต้องการของเขาเอง กับการสั่งการกล้ามเนื้อโดยผู้ดูแลใช้การเล่นตามระดับพัฒนาการ จะช่วยให้เด็กพัฒนาการรับรู้สิ่งเร้า การประมวลข้อมูล (ทำความเข้าใจ) ผ่านการได้ยินและการมองเห็น และการวางแผนสั่งการกล้ามเนื้อ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กสามารถพัฒนาสัมพันธภาพกับคนใกล้ชิด การสื่อสาร และการคิด ทั้งการคิดเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการคิดเพื่อทำความเข้าใจกับอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้ เทคนิคนี้อาศัยปฏิสัมพันธ์กับผู้ใกล้ชิด เพื่อสร้างความรักใคร่ผูกพัน ทำให้เด็กอยากจะเล่นด้วยอยากจะสื่อสารเพื่อแสดงความต้องการของตนเอง ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างอารมณ์และความต้องการออกมาเป็นการกระทำ โดยต้องปรับเทคนิคให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการและระบบการรับรู้ ความเข้าใจ และการสั่งการกล้ามเนื้อของเด็กแต่ละคน
ในประเทศไทยได้มีการจัดประชุมวิชาการทุกปีเพื่อให้แพทย์และนักบำบัดได้มีการประชุมวิชาการ ทบทวนหลักการ ต่อยอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ในครั้งนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา Dr.Gerard Costa และ Mr. Jeffrey J. Guenzel มาบรรยายหลักการ ทฤษฎี เทคนิควิธีการทั้งด้านการพัฒนาเด็กและการให้คำปรึกษาแก่ครอบครัว โดยการจัดประชุมครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แพทย์และนักบำบัดได้ความรู้ ทฤษฎี เทคนิควิธีการทั้งทางด้านการพัฒนาเด็กและการให้คำปรึกษาแก่ครอบครัว
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: