การใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูล Online Medical Research Tools (OMERET) รุ่น 3
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
แพทย์ ผู้ประสานงานโครงการ นักวิจัย บุคลากรทางด้านการแพทย์ นักวิชาการ จำนวน 30 คน
|
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ | ||||||||||||||||||
แพทย์ ผู้ประสานงานโครงการ นักวิจัย บุคลากรทางด้านการแพทย์ นักวิชาการ จำนวน 30 คน
|
กระบวนการทำงานวิจัยสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือกระบวนการบริหารจัดการข้อมูล คือการนำเข้าและประมวนผลข้อมูล สำหรับการนำเข้าข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย หนึ่งในนั้นคือการคีย์ข้อมูลเข้าไปโดยตรงในคอมพิวเตอร์โดยไม่ผ่านกระดาษฟอร์ม เรียกว่า Electronic Data Capture หรือ EDC แต่ในทางปฏิบัติยังมีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลายประการที่มิอาจทดแทนกระดาษและลายมือได้ ดังนั้นส่วนมากจึงยังคงใช้ระบบเดิม คือการบันทึกข้อมูลลงกระดาษ (paper-based) จากนั้นนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ หมายถึง ความถูกต้องขององค์ความรู้ที่นำมาลงข้อมูล ความสมบูรณ์ครบถ้วน และการจัดการข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการที่ทำให้ข้อมูลในกระดาษมาอยู่ในรูปดิจิตอล เพื่อให้พร้อมนำไปวิเคราะห์ และสรุปเป็นรายงานได้ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียด รอบคอบอย่างมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และมีคุณภาพ ถ้าขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลอาจทำให้ข้อมูลที่ได้ขาดความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญยิ่งคือความสูญเสียจากการที่สังคมนำผลงานที่ไม่ถูกต้องนั้นไปใช้เผยแพร่ ซึ่งมูลค่าความเสียหายมีค่ามากกว่าการลงทุนที่ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลมากมายนัก
หน่วยวิจัยทางคลินิก สำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เล็งเห็นถึงปัญหานี้จึงได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูล Online Medical Research Tools (OMERET)” ขึ้นเพื่อให้นักวิจัยหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยได้มีโอกาสใช้โปรแกรม OMERET เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้นักวิจัยหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถผลิตผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐานต่อไป
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: