การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง The Essential Blocks for Daily Clinical Practice
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
ปิดรับลงทะเบียนแล้ว การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "The Essential Blocks for Daily Clinical Practice"
อัตราค่าลงทะเบียน
*หมายเหตุ* ชำระเงินค่าลงทะเบียนหลังจากท่านได้จดหมายตอบรับการสมัครจากงานบริการวิชาการแล้วเท่านั้น
|
เนื่องด้วยแนวทางดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในปัจจุบัน นอกจากคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยแล้ว ยังมุ่งเน้นส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด (Enhance Recovery After Surgery) เพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ซึ่งการให้ยาระงับความรู้สึกและการระงับปวดหลังผ่าตัดเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัด โดยเทคนิคการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (Regional Anesthesia) หรือการสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Blocks) เป็นวิธีที่สามารถใช้ร่วมในการรักษาความปวดแบบผสมผสาน (Multimodal analgesia) ทำให้ควบคุมความปวดระหว่างและหลังผ่าตัด (Perioperative analgesia) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์ สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัด (Stress response to surgery) รบกวนต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว (General Anesthesia) และสามารถลดอุบัติการณ์ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ (Venous thromboembolism)
ทั้งนี้เทคนิคการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทาง (Ultrasound-guided regional anesthesia) ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคที่อาศัยความรู้ความชำนาญ ต้องการระยะเวลาการฝึกฝนเพื่อให้มีประสบการณ์ในการเพิ่มความสำเร็จในการทำหัตถการ และลดภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการ ทางภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตระหนักถึงความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ และแนวทางการปฏิบัติการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนให้ได้มาตรฐานโดยเฉพาะหัตถการที่ใช้บ่อยในการทำงานประจำแก่วิสัญญีแพทย์ เพื่อให้วิสัญญีแพทย์ผู้สนใจเข้าใจ และนำไปปฏิบัติดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยต่อไป
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม:
แนะนำห้องพักสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม
ลำดับ |
โรงแรม |
1. |
โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อิน |
|
เบอร์โทรศัพท์ : 02-618-2683 หรือ 081-334-1528 |
|
Superior single (รวมอาหารเช้า) 1,200 บาท |
|
Superior twin (รวมอาหารเช้า) 1,300 บาท |
|
Link website : http://www.grandtowerinn.com/rama6/ |
|
|
2. |
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) |
|
เบอร์โทรศัพท์ : โทร. 02-246-7800 มือถือ 081-867-4615 |
|
Superior single (รวมอาหารเช้า) 1,500 บาท |
|
Superior twin (รวมอาหารเช้า) 1,800 บาท |
Link website : http://www.centuryparkhotel.com/ | |
|
|
3. |
โรงแรมเดอะ สุโกศล (ถนนศรีอยุธยา) |
|
Deluxe single (รวมอาหารเช้า) 2,400 บาท |
|
Deluxe twin (รวมอาหารเช้า) 2,600 บาท |
|
เบอร์โทรศัพท์ : 02-247-0123 มือถือ 083-899-0397 |
|
|
4. |
โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค |
|
Superior single (รวมอาหารเช้า) 1,300 บาท |
|
Superior twin (รวมอาหารเช้า) 1,500 บาท |
|
เบอร์โทรศัพท์ : 02-6281111 ต่อ 1342, 1343 |
|
Link website : http://www.princepalace.co.th/ |
หมายเหตุ : กรุณาติดต่อรายละเอียดกับทางโรงแรมด้วยตนเองและแจ้งกับทางโรงแรมว่ามาเข้าร่วมประชุมกับทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี