การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง The Essential Blocks for Daily Clinical Practice

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง The Essential Blocks for Daily Clinical Practice
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
หนังสืออนุมัติโครงการ : ดาวน์โหลด
หนังสือเชิญประชุม : ดาวน์โหลด
โครงการ : ดาวน์โหลด
กำหนดการ : ดาวน์โหลด
ใบลงทะเบียน : ดาวน์โหลด
รับจำนวน : 12 คน
ที่ว่างคงเหลือ : การประชุมเต็มแล้ว คน
หน่วยงานผู้จัด: วิสัญญีวิทยา
สถานที่จัด : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
วันที่จัดประชุม : สิงหาคม - กันยายน 2561

ปิดรับลงทะเบียนแล้ว

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "The Essential Blocks for Daily Clinical Practice"

  • รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 6 - 10 สิงหาคม 2561
  • รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 3 - 7 กันยายน 2561

อัตราค่าลงทะเบียน

  • วิสัญญีแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ในโรงพยาบาลของภาครัฐ ท่านละ 18,000 บาท
  • วิสัญญีแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ในโรงพยาบาลของภาคเอกชน ท่านละ 25,000 บาท 

*หมายเหตุ* ชำระเงินค่าลงทะเบียนหลังจากท่านได้จดหมายตอบรับการสมัครจากงานบริการวิชาการแล้วเท่านั้น

 


รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 6-10 สิงหาคม 2561:
กรุณาเลือกข้อมูลเบื้องต้นก่อนคลิกปุ่มลงทะเบียน


รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 3-7 กันยายน 2561:
กรุณาเลือกข้อมูลเบื้องต้นก่อนคลิกปุ่มลงทะเบียน


ศิษย์เก่า:
กรุณาเลือกข้อมูลเบื้องต้นก่อนคลิกปุ่มลงทะเบียน

              เนื่องด้วยแนวทางดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในปัจจุบัน นอกจากคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยแล้ว  ยังมุ่งเน้นส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด (Enhance Recovery After Surgery)  เพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ซึ่งการให้ยาระงับความรู้สึกและการระงับปวดหลังผ่าตัดเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัด  โดยเทคนิคการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (Regional Anesthesia) หรือการสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Blocks)  เป็นวิธีที่สามารถใช้ร่วมในการรักษาความปวดแบบผสมผสาน (Multimodal analgesia) ทำให้ควบคุมความปวดระหว่างและหลังผ่าตัด (Perioperative analgesia) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ลดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาระงับปวดกลุ่มโอปิออยด์ สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัด (Stress response to surgery) รบกวนต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว (General Anesthesia) และสามารถลดอุบัติการณ์ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำ (Venous thromboembolism)

           ทั้งนี้เทคนิคการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนโดยการใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงช่วยนำทาง (Ultrasound-guided regional anesthesia) ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย  เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคที่อาศัยความรู้ความชำนาญ ต้องการระยะเวลาการฝึกฝนเพื่อให้มีประสบการณ์ในการเพิ่มความสำเร็จในการทำหัตถการ และลดภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการ ทางภาควิชาวิสัญญีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตระหนักถึงความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ และแนวทางการปฏิบัติการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนให้ได้มาตรฐานโดยเฉพาะหัตถการที่ใช้บ่อยในการทำงานประจำแก่วิสัญญีแพทย์ เพื่อให้วิสัญญีแพทย์ผู้สนใจเข้าใจ และนำไปปฏิบัติดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัยต่อไป

Provided by ACADEMICRAMA