Emergency Medical Technician Annual Conference ครั้งที่ 4 (4th EMTAC) Beyond the fast is the high quality EMS 2019
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
อัตราค่าลงทะเบียนท่านละ 3,500 บาท ปิดรับลงทะเบียนแล้ว |
การบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หมายถึง การปฏิบัติการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล ซึ่งรวมถึง
การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งจากอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล และการดูแลใน
ห้องฉุกเฉิน ซึ่งคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยต้องประกอบด้วย การดูแลผู้ป่วยที่จุดเกิดเหตุก่อนนำส่ง การดูแลระหว่าง
การนำส่งและการดูแลที่ห้องฉุกเฉิน
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical System, EMS) ของประเทศไทยแม้จะมีการพัฒนาล่าช้าเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จนกระทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๕๑
ได้มีการทำกิจกรรมการกุศลของมูลนิธิในลักษณะการกู้ภัยและการช่วยเก็บศพผู้เสียชีวิตโดยไม่คิดผลตอบแทนในการช่วยเหลือ ได้แก่ มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง (ก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๔๘๐) และมูลนิธิร่วมกตัญญู (ก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๑๓) ซึ่งได้ให้
ความช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้นและลำเลียงนำส่งโรงพยาบาล ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ กรมการแพทย์ได้จัดตั้ง
“ศูนย์กู้ชีพนเรนทร” ให้บริการรักษาพยาบาลฉุกเฉินและขนย้ายทั้งผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ระยะเวลาไม่เกิน
๑๕ นาที โดย มีหมายเลข ๑๖๖๙ เป็นหมายเลขแจ้งเหตุ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์
ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งได้กำหนดให้มีคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย จนถึงปัจจุบันได้มีการผลิตบุคลากรจำนวนมาก
ในระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งหมด ๙ ระดับ ได้แก่ แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน (พอป.) ผู้กำกับการปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผกป.) ผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผจป.) ผู้ประสานปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผปป.) พนักงานรับแจ้ง (พรจ.) นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (นฉพ.) เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (จฉพ.) พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (พฉพ.) และอาสาสมัคร
ฉุกเฉินการแพทย์ (อฉพ.)
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: