โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด (หลักสูตร 1 เดือน)
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
ค่าลงทะเบียน* ตลอดโครงการ 30,000 บาท (เบิกได้ตามสิทธิ)
*ได้รับเสื้อ ท่านที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วกรุณาแจ้งขนาดเสื้อได้ที่นี่
!!! กรุณาชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 !!!
ระยะเวลาดำเนินการ แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ภาคทฤษฎี 8 วัน จำนวนผู้เข้าอบรม 120 คน ระหว่างวันที่ 16-20 มกราคม 2566 และ 23-25 มกราคม 2566 เวลา 08.00-16.00 น. ระยะที่ 2 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) รวมทุกคน 1 วัน วันที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 08.00-16.00 น. ระยะที่ 3 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) กลุ่มย่อย 1 วันและภาคปฏิบัติในคลินิก 8 วัน รุ่นละ 30 คน เลือกคนละ 1 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 ภาคปฏิบัติในคลินิก วันที่ 30-31 มกราคม 2566, 1-3 กุมภาพันธ์ 2566, 6-8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น. รุ่นที่ 2 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 ภาคปฏิบัติในคลินิก วันที่ 13-17 กุมภาพันธ์ 2566, 20-22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น. รุ่นที่ 3 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2566 ภาคปฏิบัติในคลินิก วันที่ 13-17 มีนาคม 2566, 20-22 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น. รุ่นที่ 4 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2566 ภาคปฏิบัติในคลินิก วันที่ 27-31 มีนาคม 2566, 3-5 เมษายน 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น.
หลักฐานการขอรับใบประกาศจากสภาการพยาบาล
1. สำเนาบัตรสมาชิกสภาการพยาบาล 1 ใบ หมายเหตุ : โปรดเตรียมหลักฐานทั้งหมดมายื่นในวันประชุมพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้อง ข้อ 1 และ ข้อ 2 การแต่งกายภาคปฏิบัติจริงในคลินิก : แต่งเครื่องแบบชุดปฏิบัติงานจริงของแต่ละหน่วยงานของท่าน |
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ | ||||||||||||||||||||||
ค่าลงทะเบียน* ตลอดโครงการ 30,000 บาท (เบิกได้ตามสิทธิ)
*ได้รับเสื้อ ท่านที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วกรุณาแจ้งขนาดเสื้อได้ที่นี่
!!! กรุณาชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 !!!
ระยะเวลาดำเนินการ แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ภาคทฤษฎี 8 วัน จำนวนผู้เข้าอบรม 120 คน ระหว่างวันที่ 16-20 มกราคม 2566 และ 23-25 มกราคม 2566 เวลา 08.00-16.00 น. ระยะที่ 2 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) รวมทุกคน 1 วัน วันที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 08.00-16.00 น. ระยะที่ 3 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) กลุ่มย่อย 1 วันและภาคปฏิบัติในคลินิก 8 วัน รุ่นละ 30 คน เลือกคนละ 1 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2566 ภาคปฏิบัติในคลินิก วันที่ 30-31 มกราคม 2566, 1-3 กุมภาพันธ์ 2566, 6-8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น. รุ่นที่ 2 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 ภาคปฏิบัติในคลินิก วันที่ 13-17 กุมภาพันธ์ 2566, 20-22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น. รุ่นที่ 3 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2566 ภาคปฏิบัติในคลินิก วันที่ 13-17 มีนาคม 2566, 20-22 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น. รุ่นที่ 4 ภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ (workshop) วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2566 ภาคปฏิบัติในคลินิก วันที่ 27-31 มีนาคม 2566, 3-5 เมษายน 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น.
หลักฐานการขอรับใบประกาศจากสภาการพยาบาล
1. สำเนาบัตรสมาชิกสภาการพยาบาล 1 ใบ หมายเหตุ : โปรดเตรียมหลักฐานทั้งหมดมายื่นในวันประชุมพร้อมกับรับรองสำเนาถูกต้อง ข้อ 1 และ ข้อ 2 การแต่งกายภาคปฏิบัติจริงในคลินิก : แต่งเครื่องแบบชุดปฏิบัติงานจริงของแต่ละหน่วยงานของท่าน |
การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด เป็นวิธีการรักษาวิธีหนึ่งที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการค้นคว้าเทคโนโลยีเกี่ยวกับยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า ยาต้านฮอร์โมน และยากลุ่มภูมิคุ้มกันบำบัด ช่วยให้ผู้ป่วยหายหรือบรรเทาอาการจากโรคมะเร็งมากขึ้น อย่างไรก็ตามเคมีบำบัดเป็นกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูง ความซับซ้อนของสูตรยาและวิธีการรักษา ทำให้ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการได้รับยาเคมีบำบัด ต้องเผชิญกับอาการข้างเคียงต่างๆที่เป็นปัญหาเฉียบพลันและรุนแรง ผลข้างเคียงของเคมีบำบัด เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ดังนั้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด จึงต้องมีบุคลากรทีมสุขภาพร่วมสร้างระบบ กำหนดมาตรฐานความปลอดภัย และคุณภาพด้านการบริการที่ดี
การจัดระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งของโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นแบบสหสาขา โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ร่วมดูแลผู้ป่วย ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการตรวจรักษาทางศัลยกรรม รังสีรักษา เคมีบำบัด การรักษาแบบประคับประคอง การทำงานเป็นทีมนี้ทำให้ระบบบริการผู้ป่วยได้คุณภาพ พยาบาลเป็นบุคลากรสำคัญในทีมที่อยู่ทุกจุดบริการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของพยาบาลให้มีความรู้ ความชำนาญ ด้านการดูแลเฉพาะทางโรคมะเร็ง โครงการการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด เป็นหนึ่งในโครงการที่ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดทำขึ้น โดยใช้หลักสูตรการอบรมระยะสั้นของสภาการพยาบาลฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 เป็นต้นแบบ เพื่อฝึกอบรมพยาบาลในโรงพยาบาลรามาธิบดี และพยาบาลทั่วประเทศ ที่ทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้ยาเคมีบำบัด มีความรู้และทักษะในการพยาบาล นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีแนวคิดปรับปรุง แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานของสถานบริการหรือโรงพยาบาลนั้นๆ
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: