โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล ทวารเทียม และควบคุมการขับถ่าย : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 6 Nursing care for wound ostomy and continence: Theory and Practice (หลักสูตร 10 วัน)
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
ระยะที่ 1 ภาคทฤษฎี+ภาคปฏิบัติ (Workshop) 5 วัน จำนวนผู้เข้าอบรม 60 คน
ระหว่างวันที่ 9 – 13 มิถุนายน 2568 เวลา 08.00-16.00 น.
ระยะที่ 2 ภาคปฏิบัติในคลินิก 5 วัน แบ่งเป็น 4 รุ่น รุ่นละ 15 คน (เลือกคนละ 1 รุ่น)
อัตราค่าลงทะเบียน ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ(Workshop)+ภาคปฏิบัติในคลินิก ท่านละ 15,000 บาท
การแต่งกายภาคปฏิบัติจริงในคลินิก : แต่งเครื่องแบบชุดปฏิบัติงานจริงของแต่ละหน่วยงานของท่าน |
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ | ||||||||||||||||||||||
ระยะที่ 1 ภาคทฤษฎี+ภาคปฏิบัติ (Workshop) 5 วัน จำนวนผู้เข้าอบรม 60 คน
ระหว่างวันที่ 9 – 13 มิถุนายน 2568 เวลา 08.00-16.00 น.
ระยะที่ 2 ภาคปฏิบัติในคลินิก 5 วัน แบ่งเป็น 4 รุ่น รุ่นละ 15 คน (เลือกคนละ 1 รุ่น)
อัตราค่าลงทะเบียน ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ(Workshop)+ภาคปฏิบัติในคลินิก ท่านละ 15,000 บาท
การแต่งกายภาคปฏิบัติจริงในคลินิก : แต่งเครื่องแบบชุดปฏิบัติงานจริงของแต่ละหน่วยงานของท่าน |
สถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าสู่ระบบบริการสุขภาพด้วยภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มผู้มีแผลเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น แผลจากหลอดเลือดดำและแดง แผลกดทับ แผลเท้าเบาหวาน แผลผ่าตัดติดเชื้อ แผลรูทะลุ ผิวหนังอักเสบจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม ส่งเสริมการหายของแผล ลดโอกาสติดเชื้อ ป้องกันการสูญเสียอวัยวะ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วย
นอกจากนี้ สถิติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดลำไส้เปิดทางหน้าท้องเพื่อขับถ่ายอุจจาระจำนวนมากขึ้น รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่ได้รับการผ่าตัดลำไส้เปิดทางหน้าท้องเพื่อขับถ่ายปัสสาวะ ผู้ได้รับการผ่าตัดยกลำไส้เปิดทางหน้าท้อง เพื่อขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ (ออสโตเมท) จะเกิดการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ กลัวคนอื่นรังเกียจ ไม่กล้าเข้าสังคม มีผลต่อการดำเนินชีวิต ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก การปรับทัศนคติให้ผู้ป่วยยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง การสร้างเสริมพลัง (Empowerment) ให้ผู้ป่วยได้มีส่วนร่วมและสามารถดูแลได้ด้วยตนเอง จึงจำเป็นที่จะต้องมีพยาบาลเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มพูนความรู้ที่ก้าวหน้าทันสมัยเกี่ยวกับพยาธิสรีระ และเทคโนโลยี ที่ช่วยในการดูแลรักษา ทราบแนวทางปฏิบัติที่ได้ผลเลิศ มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ตลอดจนมีการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ทั้งในด้านการประเมิน วินิจฉัย เลือกวัสดุอุปกรณ์ได้เหมาะสม สามารถจัดบริการพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล และเป็นการเพิ่มสมรรถนะพยาบาล
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: