การจัดประชุมวิชาการเรื่อง การดูแลทารกในครรภ์ที่มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดแบบสหสาขา: การดูแลต่อเนื่องจากในครรภ์สู่โลกภายนอก
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
อัตราค่าลงทะเบียน
Onsite อัตราค่าลงทะเบียนจำนวน 1,500 บาท
Online อัตราค่าลงทะเบียนจำนวน 1,000 บาท |
![]() คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ | ||||||||||||||||||
อัตราค่าลงทะเบียน
Onsite อัตราค่าลงทะเบียนจำนวน 1,500 บาท
Online อัตราค่าลงทะเบียนจำนวน 1,000 บาท |
ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นความพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยที่สุดของทารกในครรภ์ มีอุบัติการณ์ประมาณ 8:1000 ทารกเกิดมีชีพ การวินิจฉัยก่อนคลอดทำได้ด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งมีการพัฒนาความรู้และเครื่องมือการตรวจมาอย่างยาวนานต่อเนื่องกว่า 30 ปี การวินิจฉัยที่ถูกต้องมีส่วนสำคัญในการให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว วางแผนตรวจติดตามดูแลทารกในครรภ์ วางแผนการคลอด รวมทั้งวางแผนดูแลและผ่าตัดหลังคลอดซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันแบบสหสาขาวิชาชีพอันประกอบไปด้วย สูติ-นรีแพทย์สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ กุมารแพทย์สาขาเวชศาสตร์โรคหัวใจ กุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิด-ปริกำเนิด กุมารแพทย์สาขาเวชพันธุศาสตร์และศัลยแพทย์หัวใจ
ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นภาวะที่ซับซ้อน การวินิจฉัยภาวะนี้ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ยังคงทำได้ยากต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ในการตรวจและการแปลผล รวมถึงการวางแผนดูแลคนไข้กลุ่มนี้ตั้งแต่ในครรภ์จนกระทั่งคลอดยังต้องอาศัยทีมผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญ การประชุมเชิงวิชาการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความรู้และประสบการณ์ให้กับแพทย์ที่ต้องดูแลคนไข้ที่มีภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดและผู้ฟังที่สนใจได้
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: