โครงการอบรมวิชาการเรื่อง การฝึกอบรมปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน และช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
ค่าลงทะเบียน ท่านละ 3,500 บาท*
*ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สนับสนุนค่าลงทะเบียนฝึกอบรม 8,500 บาท/คน |
จากรายงานสถานการณ์การแพทย์ฉุกเฉิน ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ พบว่าจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินของประเทศไทย ๓ ปีย้อนหลังมีแนวโน้มจำนวนสูงขึ้นทุกปี คือ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ จำนวน ๑,๒๔๘,๙๑๘ ราย ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จำนวน ๑,๓๗๔,๖๘๓ ราย และ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ จำนวน ๑,๔๙๙,๑๑๓ ราย และหากพิจารณาถึงจำนวนผู้เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุและเสียชิวิต ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีเช่นกัน โดย ใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ จำนวน ๑,๒๔๙ ราย ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จำนวน ๒,๑๕๘ ราย และ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ มีจำนวนมากที่สุดคือ ๒,๘๔๕ ราย ซึ่งการเสียชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินมีปัจจัยหลายประการมาเกี่ยวข้อง ซึ่งบางปัจจัยอาจเป็นการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ แต่พบว่าผู้เสียชีวิตบางส่วนเป็นผู้ที่มีโอกาสรอดเสียชีวิต ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉินกลุ่มนี้ หากมีระบบการดูแลนอกโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่จุดเกิดเหตุ ระหว่างการนำส่งและจนกระทั่งส่งไปยังโรงพยาบาลที่มีการดูแลเฉพาะด้านที่เหมาะสม คาดว่าจะสามารถช่วยลดอัตรา การเสียชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ลงได้ ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีความพร้อมทั้งด้านทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรด้านวัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ และบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรด้านบุคลากรนับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้ระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับความปลอดภัย มากขึ้น และสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ
พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ หรือ EMT (Emergency Medical Technique) ซึ่งมีหน้าที่ ควบคุมสถานการณ์ ที่จุดเกิดเหตุในเบื้องต้นก่อนที่ทีมทางการแพทย์ กู้ภัย หรือตำรวจจะมาถึง รายงานข้อมูลเบื้องต้นที่จุดเกิดเหตุกลับไป ยังศูนย์สั่งการรวมถึงการร้องขอกำลังสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการจอดรถในด้านของความปลอดภัย และทางเข้าทางออก จากจุดเกิดเหตุ มีหน้าที่ในการรักษาพยาบาล สามารถประเมินสัญญาณชีพเบื้องต้นการอบรม โดยมีกำหนดสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้แก่ สามารถเปิดทางเดินหายใจได้เบื้องต้น ใส่ปลอกคอ (cervical collar) ถอดหมวกนิรภัยการช่วยหายใจโดยใช้ Pocket mask ให้ออกซิเจนทาง cannula และ Mask การกดหน้าอก การห้ามเลือด การดามกระดูก การจัดท่าทาง การยกเคลื่อนย้ายด้วย long spinal board, Scoop stretcher, KED, Stair chair ให้ยาอมใต้ลิ้นตามคำสั่งของแพทย์ ใช้เครื่องกระตุกหัวใจ
โครงสร้างของการฝึกอบรมปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐานและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง ต้องกำหนดให้สอดคล้อง กับอำนาจหน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบ และข้อจำกัดของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ตามคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินประกาศกำหนด
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: