โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล ทวารเทียม และควบคุมการขับถ่าย : ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ครั้งที่ 4 Nursing care for wound ostomy and continence : Theory and Practice (หลักสูตร 10 วัน)
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
ระยะที่ 1 ภาคทฤษฎี+ภาคปฏิบัติ (Workshop) 5 วัน จำนวนผู้เข้าอบรม 40 คน
ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00-16.00 น.
ระยะที่ 2 ภาคปฏิบัติในคลินิก 5 วัน แบ่งเป็น 4 รุ่น รุ่นละ 10 คน (เลือกคนละ 1 รุ่น)
อัตราค่าลงทะเบียน ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ(Workshop)+ภาคปฏิบัติในคลินิก ท่านละ 15,000 บาท
การแต่งกายภาคปฏิบัติจริงในคลินิก : แต่งเครื่องแบบชุดปฏิบัติงานจริงของแต่ละหน่วยงานของท่าน |
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ | ||||||||||||||||||||||
ระยะที่ 1 ภาคทฤษฎี+ภาคปฏิบัติ (Workshop) 5 วัน จำนวนผู้เข้าอบรม 40 คน
ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00-16.00 น.
ระยะที่ 2 ภาคปฏิบัติในคลินิก 5 วัน แบ่งเป็น 4 รุ่น รุ่นละ 10 คน (เลือกคนละ 1 รุ่น)
อัตราค่าลงทะเบียน ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ(Workshop)+ภาคปฏิบัติในคลินิก ท่านละ 15,000 บาท
การแต่งกายภาคปฏิบัติจริงในคลินิก : แต่งเครื่องแบบชุดปฏิบัติงานจริงของแต่ละหน่วยงานของท่าน |
การผ่าตัดเปิดทวารเทียมเพื่อขับถ่ายอุจจาระ/ปัสสาวะทางหน้าท้อง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ที่กระทบต่อคุณภาพชีวิต จากการที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ อาจมีอุจจาระ ปัสสาวะเปรอะเปื้อน มีปัญหาแทรกซ้อนที่ผิวหนังโดยรอบทวารเทียม สร้างความยุ่งยากต่อการดำรงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่ของครอบครัว สังคม และการประกอบอาชีพ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล และเครียด ผู้ป่วยบางรายปฏิเสธการรักษาตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด และในผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ไม่สามารถปรับตัวได้ เกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ และสิ้นหวัง มีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัว นำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการบริการสาธารณสุข ผลกระทบจากการมีทวารเทียมมีมากมาย บางรายอาจรุนแรงดังที่กล่าวแล้ว การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ขณะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล และภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถปรับตัวได้ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง เช่น แผลกดทับ แผลที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงและแผลเท้าเบาหวาน ซึ่งต้องการพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน จึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มพูนความรู้ที่ก้าวหน้าทันสมัยเกี่ยวกับพยาธิสรีระ และเทคโนโลยี ที่ช่วยในการดูแลรักษา ทราบแนวทางปฏิบัติที่ได้ผลเลิศ มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ตลอดจนมีการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ทั้งในด้านการประเมิน วินิจฉัย วัสดุอุปกรณ์ได้เหมาะสม สามารถจัดบริการพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล และเป็นการเพิ่มสมรรถนะพยาบาล
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: