โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “The Essential Blocks for Daily Clinical Practice” ครั้งที่ 6
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่ |
!!! เปิดรับลงทะเบียนวันศุกร์ที่ 9 มิ.ย. 66 เวลา 10.00 น.
อัตราค่าลงทะเบียน
- วิสัญญีแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ในโรงพยาบาลของภาครัฐคนละ 18,000 บาทต่อรุ่น - วิสัญญีแพทย์ที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ในโรงพยาบาลของภาคเอกชนคนละ 25,000 บาทต่อรุ่น
ฝึกอบรม 7 คนต่อรุ่น |
การสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Blocks) เป็นวิธีที่สามารถใช้ร่วมในการรักษา ความปวดแบบผสมผสาน (Multimodal analgesia) ทําให้ควบคุมความปวดระหว่างและหลังผ่าตัด (Perioperative analgesia) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาระงับปวดกลุ่ม โอปิออยด์ สามารถลดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดจากการผ่าตัด (Stress response to surgery) รบกวนต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว (General Anesthesia) และ สามารถลดอุบัติการณ์ของภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดํา (Venous thromboembolism)
เนื่องด้วยแนวทางดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดในปัจจุบัน นอกจากคํานึงถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย แล้ว ยังมุ่งเน้นการดูแลความปวดเพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด (Enhance Recovery After Surgery) และยังมุ่งเน้นส่งเสริมให้มีการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (one day surgery) มากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบันมี เทคนิคการระงับความรู้สึกแบบใหม่เพิ่มมากขึ้น เพื่อมุ่งหวังที่จะภาวะแทรกซ้อนจากเทคนิคเดิมลงแต่มียังคง ประสิทธิภาพในการระงับปวดใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับเทคนิคเดิม ทําให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว และมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
อย่างไรก็ตามเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคที่อาศัยความรู้ความชํานาญ ต้องการระยะเวลาการฝึกฝน โดยเฉพาะการใส่สาย Catheter สําหรับการระงับปวดต่อเนื่องหลังผ่าตัด เพื่อให้มีประสบการณ์ในการเพิ่ม ความสําเร็จในการทําหัตถการ และลดภาวะแทรกซ้อนจากการทําหัตถการ ทางภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีตระหนักถึงความสําคัญในการถ่ายทอดความรู้ และแนวทางการปฏิบัติการ ให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้วิสัญญีแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการทําหัตถการการ ระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนอยู่แล้วและสนใจจะต่อยอดเรียนรู้การสกัดกั้นเส้นประสาทส่วนปลายเทคนิคใหม่ สามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย
ความคิดเห็น: หมายเหตุ: HTML จะไม่แสดงผล!
ให้คะแนน: แย่ ดี
พิมพ์รหัสป้องกันสแปม: